แหล่งท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยว

หลายปีมานี้เอง ลาว กำลังพัฒนาการท่องเที่ยวอย่าง ต่อเนื่องลาว เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวเพื่อสัญจรท่อง ไปยังขุนเขา ลำน้ำ อุโมงค์ และ เมืองต่างๆที่มีภูมิทัศน์มหัศจรรย์ที่สวยสดงดงามตาที่ธรรมชาติมอบไว้ให้ ตระการไปกับภาพอดีตแห่งความรุ่งเรืองบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาต่างๆของอาณาจักร ล้านช้าง ลาวมีสภาพไม่ต่างไปจากไทยเมื่อสมัย 30 ปีก่อน ที่มีการค้าพาณิชย์และ ความเจริญรุ่งเรืองอยู่เพียงประปรายเท่านั้นแม่น้ำโขงที่เป็นพรมแดนธรรมชาติ แบ่งสองชนชาติผ่าน ฝั่งไทย และ ลาว แต่วิถีชีวิตบนสองฟากฝั่ง แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เมืองหลวงพระบาง หรือ นครล้านช้าง เมืองแห่งมรดกโลก "หลวงพระบาง " เมืองแห่งมรดกโลก ซึ่งเคยเป็นนครหลวงและเป็น ที่ประทับของกษัตริย์ลาวมาถึงศตวรรษที่ 16 ได้รับการอนุรักษ์ ไว้เป็นอย่างดีจนได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นหนึ่งในมรดกโลก ในสมัยโบราณนั้น เมืองหลวงพระบางเคยเป็นที่ตั้งของแว่นแคว้น ต่างๆของชนเผ่าไท-ลาว ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง-แม่น้ำคาน แม่น้ำอู และแม่น้ำเชืองมาก่อนในปี ค.ศ.1353 เจ้าฟ้างุ้มได้มีการรวบรวมแผ่นดิน ก่อตั้งอาณาจักรล้านช้างขึ้นในบริเวณเมืองหลวงพระบาง ซึ่งเป็นสมัยที่เรียกว่า "เมืองชวา"เพระามีชาวชวาเข้ามาอาศัยอยู่มาก ครั้นในปี ค.ศ.1357 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมือง "เชียงทอง"
 
วัดเชียงทอง      ตั้งอยู่บนถนนโพธิสารราช ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงพอดี วัดเชียงทองเป็นวัดที่สำคัญและสวยงาม ได้รับการมาเยือนชมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกมากที่สุดก็ว่าได้ นักโบราณคดียกย่องว่าวัดเชียงทอง เป็นดั่งอัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมลาว วัดเชียงทองสร้างขึ้นก่อนหน้าที่ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจะย้ายเมืองหลวงไปยังนครเวียงจันทร์ไม่นานนัก และยังได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้ามหาชีวิตสว่างวงค์ และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา กษัตริย์สองพระองค์สุดท้ายของลาว รูปแบบสถาปัตยกรรมทางศาสนา แบบหลวงพระบางแท้ คือมีหลังคาแอ่นโค้ง และลาดลงต่ำมากจนแลดูค่อนข้างเตี้ย พระโพธิสารราชเจ้า ทรงสร้างวัดเชียงทองขึ้นในปี ค.ศ. 1560 และมีฐานะเป็นวัดหลวงในพระราชูปถัมภ์เรื่อยมาจนถึงปี 1975 ติดกับพระอุโบสถมีวิหารเล็กๆหลังหนึ่งเรียกกันว่า "วิหารแดง" ภายในประดิษฐฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ที่งามแปลกตากว่าที่อื่นใดด้วยสัดส่วน จีวรที่จีบเป็นริ้วโค้งออกมาทางด้านนอกตรงเหนือช้อพระบาท และ พระหัตถ์ซึ่งรองรับพระเศียรไว้อย่างสง่างาม และอ่อนช้อย พระพุทธรูปองค์นี้เคยถูกนำไปจัดแสดงอยู่ที่กรุงปารีสในปี ค.ศ. 1931 และ ไปประดิษฐานอยู่เวียงจันทร์หลายสิบปีก่อนกลับคืนสู่หลวงพระบางในปี ค.ศ.1964
 
พระราชวังหลวงพระบาง ซึ่งตั้งอยู่ทางขึ้นภูษีทางบันไดด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อยู่ใกล้กับที่ตั้งของ พระราชวัง มีถนนศรีสว่างวงค์สายเล็กๆคั่นเอาไว้นักท่องเที่ยวจึงสามารถเดินเที่ยวชมพระราชวัง ค่าเข้าชมที่นี่คนละ 10,000 กีบ ภายในจัดแสดงประวัติศาสตร์ อันเก่าแก่ของเมืองหลวงพระบาง พระราชวังแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี 1904 เพื่อเป็นที่ประทับของพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงค์ ลักษณะ เป็นศิลปะแบบลาวผสมฝรั่งเศส มีแผนผังเป็นรูปกากบาท และ สร้างฐานซ้อนกันหลายชั้น ห้องโถงด้านหน้าเป็นที่ประดิษฐาน พระบางซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของลาว องค์พระสูง 83 เซนติเมตร พระหัตถ์แสดงปางอภัยมุทรา หล่อขึ้นด้วยทองคำ บริสุทธิ์เกือบทั้งองค์ รวมน้ำหนักทั้งสิ้นราว 43 ถึง 54 กิโลกรัม คามตำนานเล่าว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นที่เกาะสิงหลเมื่อราวศตวรรษ ที่ 1 เจ้าฟ้างุ้ม ทรงได้รับพระราชทานจากกษัตริย์เขมรมาอีกต่อหนึ่ง แต่ก็ต้องตกไปอยู่ในเมืองสยามถึงสองครั้ง ปี 1779 และ 1827 จน ปี 1867 พระบาทสมเด็จพระจอเกล้าฯจึงทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานกลับคืน ไปให้ภายในห้องยังมีฉากลับแลผ้าไหมปักลวดลาย ด้วยฝีมือ ประณีตและงาช้างแกะสลักอีกไม่น้อยที่เหลือเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ภาพบุดคล บรรณาการจากต่างชาติ และ งานศิลปะมากมายและงานประดับกระเบื้องอยู่รอบๆตัวอาคาร และ ยังมีโรงละครภายในราชวัง ตรงข้ามหอพระบางซึ่งเย็นวันนี้จะมีการแสดง พระลักษณ์ พระราม ในเวลา 18.00 น. เป็นการแสดงของนักเรียน ซึ่งเพิ่งเริ่มเปิดการแสดงไม่นานนี้เองซึ่งใช้เวลาที่นี่ ต้องก่อน 11.00 น. เพราะพระราชววังจากปิดรับประทานอาหารเที่ยง และ นอนพัก ซึ่งที่นี่จะเปิดอีกที ก็ประมาณ 13.00 น.

 
นครเวียงจันทน์ พระธาตุหลวง สัญลักษณ์ของประเทศลาว เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ เรียกว่า สปป. ลาว ตั้งอยูบริเวณริมแม่น้ำโขงด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามของอำเภอ ศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคายของไทย เมืองหลวงรูปพระจันทร์เสี้ยวแห่งนี้ ยังคงไว้ความสงบ เมื่อเทียบกับเมืองหลวงที่สับสนหลายแห่งในเอเซีย บรรยากาศความรุ่งโรจน์ที่เสื่อมสลายลงเรื่อยๆขับเน้นให้เสน่ห์อันเรียบง่ายของเวียงจันทน์ แม้ลาวจะเปลี่ยนไปมากตลอด 25 ปีที่ตกอยู่ในการปกครองแบบคอมมิวนิตย์ แต่เวียงจันทน์ก็ยังรักษาจิตวิญญาณ ของเมืองโบราณอยู่ตามวิถีของมันแบบค่อยเป็นค่อยไป ช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาเวียงจันทน์มักต้องรับศึกต้อง ตกเป็น เมืองขึ้นของต่างชาติตลอดเวลา ไม่ว่าเป็นไทย เวียดนาม พม่า เขมร รวมทั้งฝรั่งเศส และ อเมริกา แต่ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ ไว้อย่างเหนียวแน่นทั้งด้านความศรัทธาของพุทธศาสนาซึ่งอยู่ในหัวใจของชนชาวลาว ตลอดจนขนบะรรมเนียมประเพณีที่ดูอย่างดีงามผสมผสานอย่างเรียบง่ายคล้ายคลึงกับอีสานบ้านเรา จึงทำให้นักท่องเที่ยวไทยมีความรู้สึกอบอุ่น เหมือนอยู่เมืองไทยนี้เอง และ อีกอย่างหนึ่งเวียงจันทน์ เป็นแหล่ง จำหน่ายสินค้า ด้านหัตถกรรม ผ้าฝ้ายทอมือ รวมทั้ง เครื่องเงินที่มีราคาถูก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น